วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ 2550

กฎหมายรัฐธรรมนูญ

1. ตามรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงราบการทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลใดบ้าง
ก. ตนเอง ภริยา บุตร และบุตรบุญธรรม ข. ตนเอง คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ค. ตนเอง ภริยา แลกะบุตรทุกคน ง. ตนเอง คู่สมรส และบุตรบุญธรรม
2. การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะต้องยื่นต่อ
ก. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ข. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
ค. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ง. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
3. ผู้ดำรงตำแหน่งใดที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
ก. นายกรัฐมนตรี ข. ผู้บริหารท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด
ค. สมาชิกวุฒิสภา ง. ถูกทุกข้อ
4. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับระยะเวลาการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
ก. ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันเข้ารับและพ้นจากตำแหน่ง
ข. ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันเข้ารับและพ้นจากตำแหน่ง
ค. ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง
ง. ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันเข้ารับ / วันพ้นจากตำแหน่งและภายใน 30 วันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งมาแล้ว 1 ปี
5. บัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดที่จะต้องเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรี
ค. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ง. ถูกทุกข้อ
6. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ก. ประกอบด้วยประธานคนหนึ่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น อีก 10 คน
ข. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของสภาผู้แทนราษฎร
ค. มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ง. คณะรัฐมนตรีเป็นผู้สรรหาและคัดเลือก
7. ตำแหน่งใดบ้างที่วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนจากตำแหน่ง
ก. นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข. ประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ค. ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ง. ถูกทุกข้อ


8. มติของวุฒิสภาในการถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่งจะต้องได้คะแนนเสียงเท่าใดจึงจะมีผลตามรัฐธรรมนูญ
ก.ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ข.ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5
ค. เกินกว่า 1 ใน 2 ง. เกินกว่า 1 ใน 4

9. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินประกอบด้วย ประธานคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีก 9 คน
ข. ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานธุรการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ค. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ตามคำแนะนำของรัฐสภา
ง. ถูกทุกข้อ
10. กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่าใด
ก. 6 ปี วาระเดียว ข. 7 ปี วาระเดียว ค. 9 ปี วาระเดียว ง. 10 ปี ไม่จำกัดวาระ
11. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้ตั้งแต่
ก. 1 สิงหาคม 2550 ข. 17 สิงหาคม 2550 ค. 24 สิงหาคม 2550 ง. 25 สิงหาคม 2500
12. ในการเสนอขอแก้ไขในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ใครเป็นผู้มีสิทธิขอเสนอ
ก. พรรคการเมือง ข.นายกรัฐมนตรี
ค. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30,000 คน
ง. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับความเห็นชอบจาก
ก. คณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช. ) ข. สภาร่างรัฐธรรมนูญ
ค. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ง. การลงประชามติของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
14. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อใด
ก. 1 สิงหาคม 2550 ข. 17 สิงหาคม 2550 ค. 24 สิงหาคม 2550 ง. 25 สิงหาคม 2550
15. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าใด
ก. ฉบับที่ 16 ข.ฉบับที่ 17 ค. ฉบับที่ 17 ง. ฉบับที่ 19
16. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่หมวด กี่มาตรา
ก. 14 หมวด 303 มาตรา ข. 14 หมวด 309 มาตรา
ค. 15 หมวด 303 มาตรา ง. 15 หมวด 309 มาตรา
17. มาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เกี่ยวกับเรื่องใด
ก. ประมุขของรัฐ ข. ความเป็นรัฐเดี่ยวของราชอาณาจักรไทย
ค. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความคุ้มครอง ง. สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
18. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน มาตรา 1 ระบุว่า “ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร ..... ”
ก. .... ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ”
ข. .... ที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ”
ค. .... อันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ ”
ง. .... อันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย ”
19. รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะองคมนตรีได้ไม่เกินกี่คน
ก. 17 คน ข. 18 คน ค. 19 คน ง. 20 คน

20. ใครมีอำนาจลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ก. ประธานองคมนตรี ข. ประธานรัฐสภา ค. ประธานวุฒิสมาชิก ง. นายกรัฐมนตรี
21. ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ ใครจะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ก. สภาองคมนตรี ข. รัฐสภา ค. วุฒิสภา ง. พระมหากษัตริย์
22. ข้อใดกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ไม่ถูกต้อง
ก. การให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทำมิได้
ข. บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทาง
ศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ คดีในศาลได้
ค. บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของ
รัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
ง. การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตมบทบัญญัติแห่ง
รัฐธรรมนูญนี้
23. บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่แสดงเจตนารมณ์ให้ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการนั้นมีอยู่หลายประการด้วยกัน
ยกเว้นข้อใด
ก. ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ข. บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่
เก็บ ค่าใช้จ่าย
ค. บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิได้รับการจัดสรรที่อยู่อาศัยจากรัฐ
ง. บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการสิงอำนวยความสะดวก
อัน เป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
24. การกำจัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ ยกเว้น ข้อใด
ก. รัฐธรรมนูญกำหนดกฎหมายไว้ ข. เป็นการจำกัดของคณะรัฐมนตรี
ค. เป็นการจำกัดโดยรัฐสภา ง. เป็นการจำกัดโดยศาลหรือตุลาการ
25. การกระทำข้อใด ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ว่า “ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ”
ก. พนักงานสอบสวนใช้ไฟส่องหน้าและใช้เวลาสอบสวนผู้ต้องหาติเดต่อกันถึง 8 ชั่วโมง
ข. ประหารชีวิตนักโทษตามกฎหมาย
ค. ตำรวจซ้อมผู้ร้ายปากแข็งเพื่อให้รับสารภาพ ง. ผิดทุกข้อ
26. สิทธิเสรีภาพของบุคคลในทางอาญาข้อใด ไม่ถูกต้อง
ก. ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาไม่มีความผิด ข. ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยมีความผิด
ค. จะลงโทษผู้กระทำผิดหนักกว่าโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้
ง. ก่อนมีคำพิพากษาว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดปฏิบัติ ต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
27. เราสามารถปฏิเสธการตรวจค้นบ้านจากตำรวจได้ หากเขาไม่มีหมายค้นแสดงต่อเราก่อน ถือว่าเรามีเสรีภาพในข้อใด
ก. เสรีภาพในชีวิตร่างกาย ข. เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่
ค. เสรีภาพในเคหสถาน ง. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

28. การกระทำข้อใด ไม่ขัด ต่อสิทธิเสรีภาพแห่งรัฐธรรมนูญ
ก. การเนรเทศผู้มีเชื่อชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร ข. การห้ามผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร
ค. การเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน ง. การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง
29. บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก. 6 ปี ข. 10 ปี ค. 12 ปี ง. 16 ปี
30. การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำได้เฉพาะเพื่อการใดเท่านั้น
ก. การอันเป็นสาธารณูปโภคและการผังเมือง ข. การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ และการปฏิรูปที่ดิน
ค. การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาการเกษตร หรืออุตสาหกรรม ง. ถูกทุกข้อ
31. การจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพกระทำได้เฉพาะเพื่อการใด
ก. การรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเศรษฐกิจของประเทศ
ข. การคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณูปโภคการคุ้มครองผู้บริโภค
ค. การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ง. ถูกทุกข้อ
32. ผู้ใดไม่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
ก. เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแล ข. ผู้มีอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์ และมีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ
ค.ผู้พิการทุพพลภาพ ง. ถูกทุกข้อ
33. สิทธิของบุคคลในชุมชนเกี่ยวกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ข้อใดที่รัฐธรรมนูญ มิได้บัญญัติไว้
ก. การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา
ข. การฟ้องหน่วยราชการที่ดำเนินโครงการก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ค. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างอิสระ
ง. สิทธิฟ้องร้ององค์กรของรัฐที่ทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
34. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ
ก. รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ เว้นแต่ประเทศที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน
ข. รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย
ค. รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด
ง. รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครองระบบสหกรณ์
35. ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นองค์กรประเภทใด
ก. หน่วยงานของรัฐ ข. องค์กรอิสระตามกฎหมาย
ค. องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ง. องค์กรในทางรัฐสภา
36. ข้อใดไม่ใช่แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ
ก. แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ ข. แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
ค. แนวนโยบายด้านพลังงาน ง. แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
37. ประธานรัฐสภามาจากข้อใด
ก. ประธานองคมนตรี ข. ประธานวุฒิสภา
ค. ประธานสภาผู้แทนราษฎร ง. ถูกทุกข้อ

38. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนกี่คน
ก. 40 คน ข. 80 คน ค. 100 คน ง. 120 คน
39. การเลือกตั้งแบบสัดส่วนกำหนดเขตเลือกตั้งไว้กี่กลุ่ม
ก. 4 กลุ่ม ข. 8 กลุ่ม ค. 10 กลุ่ม ง. 12 กลุ่ม
40. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
ก. 200 คน ข. 400 คน ค. 480 คน ง. 630 คน
41. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละจังหวัด
ก. ใช้จำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง
ข. ใช้จำนวน 400 เป็นตัวหาร
ค. จังหวัดที่ไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อ สส. หนึ่งคน มี สส. ได้หนึ่งคน
ง. จังหวัดที่มี สส. 2 คนขึ้นไปจะต้องแบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดอย่างน้อยเป็น 2 เขต
จง ถูกทุกข้อ
42. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีอายุ 18 ปี บริบูรณ์ใน ....
ก. วันประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ข.วันเลือกตั้ง
ค. วันเกิด ง. วันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
จ. วันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง
43. เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปภายในกำหนดเท่าใด
ก. 45 วัน ข. 60 วัน ค. 90 วัน ง. 120 วัน จ. 150 วัน
44. หลังยุบสภาต้องเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วันนับแต่วันยุบสภานั้น
ก. 30 วัน ข. 45 วัน ค. 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน ง. 60 วัน จ. 90 วัน
45. วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปต้องตราเป็น ……
ก. พระราชกำหนด ข.พระราชบัญญัติ ค. พระราชกฤษฎีกา
ง. ประกาศพระบรมราชโองการ จ. กฎกระทรวง
46. ใครเป็นผู้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ก. กรรมการการเลือกตั้ง ข. กรมการปกครอง ค. กระทรวงมหาดไทย
ง. พรรคการเมือง จ. กลุ่มสมาชิกพรรคการเมือง
47. เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ให้ถือเขตเลือกตั้งอย่างไร
ก. ให้ถือเขตภูมิภาคเป็นเขตเลือกตั้ง ข. ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
ค. ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ง. ให้ถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง
จ. ให้ถือตามการจัดกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
48. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเลือกตั้งแบบสัดส่วน
ก. พรรคการเมืองต้องส่งครบทุกเขตเลือกตั้ง ข. พรรคการเมืองจะส่งเพียงบางเขตเลือกตั้งก็ได้
ค. ในแต่ละเขตเลือกตั้งจะมีจำนวน สส. เท่าใดขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในเขตเลือกตั้งนั้น
ง. พรรคการเมืองที่จะได้คะแนนน้อยกว่าร้อย 10 จะไม่นำมารวมคำนวณจำนวน สส. จ .ถูกทุกข้อ

49. การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เขตละกี่คน
ก. 1 คน ข. 2 คน ค. 3 คน
ง. เท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งนั้น
จ. ไม่เกินจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งนั้น
50. ข้อใดกล่าว ผิด เกี่ยวกับจำนวนสมาชิกภาผู้แทนราษฎร
ก. จังหวัดใดราษฎรไม่ถึงเกณฑ์ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน
ข. จังหวัดใดราษฎรเกินเกณฑ์ 1 คน ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มอีก 1 คน
ค. ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มอีก 1 คน ทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน
ง. ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบ 400 คน จังหวัดใดเหลือเศษมากที่สุดให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อีก
1 คน และใช้วิธีนี้เพิ่มกับจังหวัดลำดับถัดไปจนครบ 400 คน
51. ข้อใด ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ก. จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 1 คน ให้ ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
ข. จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 2 คน ให้ ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
ค. จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 1 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งมีจำนวนเท่ากับจำนวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี
ง. จังหวัดใดมีการแบ่งเขตเลือกตั้งมากกว่า 1 เขต ต้องแบ่งพื้นที่แต่ละเขตให้ติดต่อกันและให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ใกล้เคียงกัน
52. ใคร ไม่มี สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
ก. กานดาแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยมาแล้ว 4 ปี ข. สากลมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วรวม 60 วัน
ค. มนต์ชัยมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีเลือกตั้ง ง. ไม่มีสิทธิเลือกทุกคน
53. ผู้ใดจะลงสมัครรับเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ยกเว้น
ก. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ข. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ค. มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ง. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วัน
54. ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละกี่ปี
ก. 3 ปี ข. 4 ปี ค. 5 ปี ง. 6 ปี
55. สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริมตั้งแต่เมื่อใด
ก.วันเลือกตั้ง ข. วันประกาศผลการเลือกตั้ง
ค. วันรายงานตัวต่อตัวสภาผู้แทนราษฎร ง. วันแรกที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร





56. ข้อใดถือว่าสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง
ก. ขาดประชุมเกิน 1 ใน 4 ของจำนวนวันประชุมในสมัยที่ประชุมที่กำหนดเวลา ไม่น้อยกว่า 120 วัน
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภา
ข. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ยกเว้นได้รับการรอการลงโทษ
ค. พรรคเดิมที่ตนสังกัดอยู่ถูกยุบและไม่อาจเป็นสมาชิกพรรคอื่นได้ภายใน 120 วัน
ง. ถูกทุกข้อ
57. พรรคการเมืองที่จะได้เสียงข้างมากในสภา ผู้แทนราษฎร ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดจำนวนอย่างน้อยที่สุด
ก. 201 เสียง ข. 241 เสียง ค. 2581 เสียง ง. 316 เสียง
58. หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาต้องมี สมาชิกไม่น้อยกว่าเท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าทีมีอยู่
ของสภาผู้แทนราษฎร
ก. 1 ใน 3 ข. 1 ใน 4 ค. 1 ใน 5 ง. 2 ใน 5
59. การประชุมสภาผู้แทนราษฎรต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากี่คนของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะถือว่าครบ องค์ประชุม
ก. 1 ใน 3 ข. กึ่งหนึ่ง ค. 2 ใน 3 ง. 3 ใน 4
60. การประชุมครั้งแรกนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องจัดให้มีการประชุมภายในกี่วัน
ก. 7 วัน ข. 15 วัน ค. 30 วัน ง. 45 วัน
61. สมาชิกวุฒิสภามีจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด
ก. 150 คน ข. 200 คน ค. 250 คน ง. 300 คน
62. สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจาก
ก. การแต่งตั้ง ข. การเลือกตั้ง ค. การเลือกตั้งและ สรรหา ง. ถูกทุกข้อ
63. วุฒิสมาชิกต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ก. 25 ปี ข. 30 ปี ค. 35 ปี ง. 40 ปี
64. อายุของวุฒิสมาชิกมีกำหนดคราวละกี่ปี
ก. 2 ปี ข. 4 ปี ค. 6 ปี ง. 8 ปี
65. เมื่อวาระของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลงต้องกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วัน
ก. 30 วัน ข. 45 วัน ค. 60 วัน ง. 90 วัน
66. สมัยประชุมสามัญ ของรัฐสภาสมัยหนึ่งๆมีกำหนดกี่วัน
ก. 60 วัน ข. 90 วัน ค. 120 วัน ง. 150 วัน
67. ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทั้งสิงสภารวมกัน หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่า หนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เข้าชื่อร้องขอให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุม สมัยวิสามัญ ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในการเรียกประชุมรัฐสภา คือ
ก.ประธานรัฐสภา ข. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ค. นายกรัฐมนตรี ง. ประธานองคมนตรี
68. การเลือกตั้ง การเปิดสมัยประชุมสภา และการยุบสภา ต้องตราเป็น
ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกำหนด ค. พระราชกฤษฎีกา ง. พระบรมราชโองการ
69. คณะกรรมการเลือกตั้งมีกี่คน
ก. 4 คน ข. 5 คน ค. 7 คน ง. 10 คน
70.กรรมการการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 4 ปี ข. 5 ปี ค. 6 ปี ง. 7 ปี

71. ข้อใด มิใช่ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ก. สั่งให้พนักงานของรัฐวิสาหกิจปฏิบัติการทั้งหลายอัน ตำเป็นตามกฎหมาย
ข. ประกาศผลการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ
ค. สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
ง. สืบสวนข้อเท็จจริงกรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำความผิดทางอาญาบริเวณเขตเลือกตั้ง
72. องค์การตามรัฐธรรมนูญ ในข้อใดทีมีสถานะต่างไปจากข้ออื่น
ก. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ข.ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ค. คณะกรรมการการเลือกตั้ง ง. คณะกรรมาการตรวจเงินแผ่นดิน
73. ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้น กำหนดให้องค์การอัยการมีฐานะเป็นอย่างไร
ก. ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ข. ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ค. หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตุลาการ ง. องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
74. ร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้
ก. โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ข. โดยการลงพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
ค. โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ง. โดยคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา
75. ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้โดย
ก. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข. สมาชิกวุฒิสภา
ค. คณะรัฐมนตรี ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ค.
76. พระราชบัญญัติจะมีผลบังคับเป็นกฎหมายได้เมื่อ
ก. พระมากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ข. ได้ประกาศโดยเปิดเผยทางสื่อมวลชนแล้ว
ค. รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ง. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
77. เมื่อร่างพระราชบัญญัติได้รับความเห็นชอบจากสภาแล้วนายกรัฐมนตรีต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯภายในกี่วัน
ก. 7 วัน ข. 15 วัน ค. 20 วัน ง. 30 วัน
78. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินได้ต่อเมื่อ
ก. หัวหน้าพรรคการเมืองของตนมีคำรับรอง ข. มีคำรับรองของประธานสภาผู้แทนราษฎร
ค. มีคำรับรองของประธานวุฒิสภา ง. มีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
79. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ต่อเมื่อ
ก. พรรคการเมืองที่ตนสังกัดมีมติให้เสนอได้ ข. ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 20 คนรับรอง
ค. วุฒิสภาให้การรับรองแล้ว ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
80. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธ ศักราช 2550 กำหนดให้ประชาชนเสนอให้มีการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง โดยต้องมีประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใดเข้าชื่อร่วมกัน
ก. หนึ่งหมื่นคน ข. สองหมื่นคน ค. ห้าหมื่นคน ง. หกหมื่นคน
81. วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนเสนอมาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดกี่วัน
ก. 30 วัน ข. 45 วัน ค. 60 วัน ง. 90 วัน

82. วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยเงิน ภายในกี่วัน
ก. 30 วัน ข. 45 วัน ค. 60 วัน ง. 90 วัน
83. การขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อเสนอญัตติ
ไม่น้อยกว่า เท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ก. 1 ใน 3 ข. 2 ใน 3 ค. 1 ใน 5 ง. 2 ใน 5
84. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้วุฒิสภาใช้วิธีการใดควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
ก. การตั้งกระทู้ถาม ข. การเปิดอภิปรายทั่วไป ค. การควบคุมโดยคณะกรรมาธิการ ง. ถูกทุกข้อ
85. การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลต้องมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าเท่าใด
ของ สมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อกัน
ก. 1 ใน 3 ข. 1 ใน 4 ค. 1 ใน 5 ง. 1 ใน 6
86. สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิเข้าชื่ออภิปรายทั่วไปเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
แต่ต้องมีจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าใด
ก. 1 ใน 3 ข. 1 ใน 4 ค. 1 ใน 5 ง. 1 ใน 6
87. กรณีใดที่รัฐสภา ต้องประชุมร่วมกัน
ก. การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ข. การเปิดอภิปรายทั่วไปของรัฐบาล
ค. การให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ ง. ถูกทุกข้อ
88. ผู้ตรวจการแผ่นดินมีได้ไม่เกินกี่คน และ อยู่ในวาระคราวละกี่ปี
ก. ไม่เกิน 2 คน – วาระละ 2 ปี ข. ไม่เกิน 3 คน – วาระละ 6 ปี
ค. ไม่เกิน 4 คน – วาระละ 4 ปี ง. ไม่เกิน 5 คน – วาระละ 5 ปี
89. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีกี่คน และอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 6 คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี ข. 7 คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
ค. 8 คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี ง. 9 คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
90. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีไม่เกินกี่คน
ก. 35 คน ข. 36 คน ค. 38 คน ง. 48 คน
91. เมื่อเรียกประชุมสภาเป็นครั้งแรกแล้วต้องตั้งนายกรัฐมนตรี ให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก. 7 วัน ข. 30 วัน ค. 30 วัน ง. 60 วัน
92. การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต้องมีผู้แทนราษฎรรับรองไม่น้อยกว่ากี่คนของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ก. 1 ใน 5 ข. 2 ใน 3 ค. 2 ใน 5 ง. 3 ใน 4

93. รัฐมนตรีจะต้องพ้นจากความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อครบกำหนดกี่วันนับถัดจากวันที่มีบรมราชโองการ
ก. 15 วัน ข. 20 วัน ค. 30 วัน ง. ไม่มีข้อใดถูก
94. รัฐมนตรีต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ก. 25 ปี ข. 35 ปี ค. 40 ปี ง. 45 ปี
95. นับแต่วันเข้ารับหน้าที่คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายในกี่วัน
ก. 7 วัน ข. 15 วัน ค. 18 วัน ง. 21 วัน
96. ข้อใด ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ
ก. ต้องเป็นเรื่องกระทบต่อผลประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน
ข. ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติ
ค. หากเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะกระทำมิได้ ยกเว้นคณะบุคคล
ง. นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา
เพื่อให้มีการลง ประชามติ
97. ประชากรผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ ต้องมีคุณสมบัติแอย่างไร
ก. เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข. ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
ค. ต้องไม่เคยต้องโทษในคดีอาญา ง. ถูกทุกข้อ
98. โดยทั่วไป กรณีใดถือว่าประชาชนเห็นชอบด้วยกับเรื่องที่ออกเสียงประชามตินั้น
ก. มีผู้ออกเสียงเห็นชอบ มากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนผู้มีสิทธิ
ข. มีผู้ออกเสียงเห็นชอบ มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิ
ค. มีผู้ออกเสียงเห็นชอบ มากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนผู้มาใช้สิทธิ
ง. มีผู้ออกเสียงเห็นชอบ มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มาใช้สิทธิ
99. องค์กรใดที่มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวน เพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ
การออกเสียงประชามติ
ก. ศาลรัฐธรรมนูญ ข. ศาลปกครอง ค. คณะกรรมการการเลือกตั้ง ง. คณะรัฐมนตรี
100. ผู้มีอำนาจในการประกาศใช้และยกเลิกกฎอัยการศึกตามกฎหมายคือใคร
ก. พระมหากษัตริย์ ข. ประธานรัฐสภา ค. ประธานวุฒิสภา ง. นายกรัฐมนตรี
101. ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตั้งรัฐมนตรี คือ
ก. ประธานสภาผู้แทนราษฎร ข. ประธานรัฐสภา
ค. ประธานองคมนตรี ง. นายกรัฐมนตรี
102. ตามรัฐธรรมนูญไทยปัจจุบัน กฎหมายใดคือกฎหมายที่รัฐบาลสามารถประกาศใชบังคับได้เองในทันที
แต่ต้องมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาในภายหลัง
ก. พระราชกฤษฎีกา ข. พระบรมราชโองการ ค. พระราชกำหนด ง. พระราชบัญญัติในภาวะฉุกเฉิน
103. การออกกฎหมายโดยฝ่ายบริหารกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ คือข้อใด
ก. พระบรมราชโองการ ข. พระราชกำหนด ค. พระราชบัญญัติ ง. พระราชกฤษฎีกา

104. การเสนอกฎมายโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า
ก. 10,000 คน ข. 20,000 คน ค. 40,000 คน ง. 50,000 คน
105. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้อดงกระทู้ถามด้วยวาจาในเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินได้เรื่องละไม่เกิน
ก. 1 ครั้ง ข. 2 ครั้ง ค. 3 ครั้ง ง. ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
106. ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยปรานและตุลาการอื่นรวมกี่คน
ก. 7 คน ข. 9 คน ค. 11 คน ง. 13 คน

107. ผู้ทรงคุณวุฒิในศาลรัฐธรรมนูญต้องมีกายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ก. 35 ปี ข. 40 ปี ค. 45 ปี ง. 50 ปี
108. องค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีจำนวนกี่คน
ก. 5 คน ข. 7 คน ค. 9 คน ง. 11 คน
109. อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่าง ร.ท. น้อย กับ ป้าส้มลิ้ม แม่ค้าขายปลาสดเรือ่งหมิ่นประมาท
เป็นอำนาจ
ก. ศาลยุติธรรม ข. ศาลปกครอง ค.ศาลรัฐธรรมนูญ ง. ศาลทหาร
110. พนักงานไฟฟ้าปักเสาไฟฟ้าทำให้บ้านยายสาย ได้รับความเสียหาย ยายสายควรไปขอความเป็นธรรมจากศาลใด
ก. ศาลยุติธรรม ข. ศาลปกครอง ค.ศาลรัฐธรรมนูญ ง. ศาลทหาร
111. คำสั่งยุบพรรคการเมืองกระทำโดย
ก. คณะกรรมการการเลือกตั้ง ข. ศาลยุติธรรม
ค. ศาลปกครอง ง. ศาลรัฐธรรมนูญ
112.ในกรณีที่ไม่มีบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบังคับแก่กรณีใด รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ใช้วิธีการใด
ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ก. ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ข. เป็นหน้าที่ของรัฐบาลหรือรัฐสภาที่จะดำเนินการพิจารณาสร้างบรรทัดฐานขึ้นใหม่
ค. ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ง. ให้กรณีดังกล่าวเป็นโมฆะ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ต่อไปได้
113.ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติการใดๆ ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบหรือความเหมาะสมในการใช้อำนาจรัฐ
องค์กรใดมีอำนาจเสนอเรื่องพร้อมกับความเห็นต่อศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ก. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ข. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ค. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ง. ผู้ตรวจการแผ่นดิน





114. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550
ก. สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
ข. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
ค.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ
ประชาชนเท่านั้น
ง.คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น จะเป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือลูกจ้าง
ของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจของข้าราชการส่วนท้องถิ่นมิได้
115. ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก. ต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม
ข. ต้องทำเท่าที่จำเป็นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ค. ต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น
ง. นโยบายของรัฐไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นโดยเฉพาะในการจัดตั้งองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่
116. หลักสำคัญของการจัดการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ก. จะต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา
ข. สมาชิกสภาและคณะผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งเป็นหลัก ถ้าจำเป็นต้องมีสมาชิกประเภทแต่งตั้ง จะต้อง
มีจำนวนน้อยกว่าที่มาจารกการเลือกตั้ง
ค.ให้มีสมาชิกสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ผสมกับสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อประสานประโยชน์ระหว่าง
ราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
ง. ให้จัดการกระจายอำนาจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากที่สุดทั้งระดับ จังหวัด อำเภอ และตำบล
117. สมาชิกสภาท้องถิ่น มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 2 ปี ข. 3 ปี ค. 4 ปี ง. 5 ปี
118. ในรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีองค์กรใดในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างระบบ
คุ้มครองคุณธรรม
ก. คณะกรรมการข้าราชการท้องถิ่น ข. คระกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่น
ค. องค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรม ง. องค์กรคุ้มครองข้าราชการส่วนท้องถิ่น
119. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้องค์กรใดมีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง
ระดับสูง กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริต
ก. รัฐสภา ข. สภาผู้แทนราษฎร ค. วุฒิสภา ง. ศาลรัฐธรรมนูญ
120. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีจำนวนกี่คน
ก. 6 คน ข. 7 คน ค. 8 คน ง. 9 คน
121. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 4 ปี ข. 6 ปี ค. 9 ปี ง. 11 ปี


122. อำนาจพิจารณาพิพากษาข้าราชการการเมือง ผู้ถูกกล่าวหาว่า ร่ำรวยผิดปกติอยู่ในอำนาจของศาลใด
ก.ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ข. ศาลรัฐธรรมนูญ ค. ศาลปกครองสูงสุด ง. ประธานศาลฎีกา
123. การถอดถอนข้าราชการการเมืองชั้นผู้ใหญ่ออกจากตำแหน่งได้นั้นประชานก็มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาได้
แต้ต้องรวมกันไม่น้อยกว่ากี่คน
ก. 20,000 คน ข. 30,000 คน ค. 40,000 คน ง. 50,000 คน
124. การออกเสียงลงคะแนนในการพิจารณาแก้ไข ในรัฐธรรมนูญ จะต้องได้คะแนนเสียง
ก. มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภา ข. มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาเท่าที่มีอยู่
ค. สองในสามของจำนวนสมาชิกรัฐสภา ง. สองในสามของจำนวนสมาชิกรัฐสภาเท่าที่มีอยู่

เฉลยชุดที่ 1
1. ข 2. ค 3. ง 4. ก 5. ง 6. ค 7. ง 8. ข 9. ข 10. ก
11. ค 12. ง 13. ง 14. ค 15. ค 16. ง 17. ข 18. ค 19. ค
20. ข
21. ค 22. ก 23. ค 24. ก 25. ข 26. ข 27. ค 28. ง 29. ค
30. ง
31. ง 32. ข 33. ค 34. ก 35. ค 36. ค 37. ค 38. ข 39.ข
40. ค
41. ง 42. ง 43. ก 44. ค 45. ค 46. ง 47. จ 48. ข
49. ง 50. ข
51. ค 52. ง 53. ค 54.ข 55. ก 56. ก 57. ข 58. ค
59. ข 60. ค
61. ก 62. ค 63. ค 64. ค 65. ก 66. ค 67. ก 68. ค 69. ข
70. ง
71. ง 72.ก 73. ง 74. ค 75. ง 76. ง 77. ค 78. ง 79. ข
80. ข
81. ค 82. ก 83. ค 84. ง 85. ง 86. ก 87. ง 88. ข 89. ข
90. ข
91. ข 92. ก 93. ง 94. ข 95. ข 96. ค 97. ก 98. ข 99. ค
100. ก
101. ง 102. ค 103. ข 104. ก 105. ค 106. ข 107. ค 108. ค 109. ก 110. ข
111. ง 112. ค 113. ง 114. ง 115. ง 116. ก 117.ค 118. ค 119. ค
120. ง
121. ค 122. ก 123. ก 124. ข

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539



พระราชบัญญัติ
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
-------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539
เป็นปีที่ 51 ในรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่สมควรมีกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็น ธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดในกฎหมาย
มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(1) รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
(2) องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ
(3) การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง
(4) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับ คดี และการวางทรัพย์
(5) การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
(6) การดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ
(7) การดำเนินงานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกัน และรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ
(8) การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
(9) การดำเนินกิจการขององค์การทางศาสนา
การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่การดำเนินกิจการใดหรือกับหน่วยงานใด นอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทาง ปกครอง
มาตรา 5 "วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง" หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่ง ทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้
"การพิจารณาทางปกครอง" หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทาง ปกครอง
"คำสั่งทางปกครอง" หมายความว่า
(1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวร หรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่ หมายความรวมถึงการออกกฎ
(2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
"กฎ" หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ บทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
"คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท" หมายความว่า คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่มีการจัดองค์กรและวิธี พิจารณาสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
"เจ้าหน้าที่" หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทาง ปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม
"คู่กรณี" หมายความว่า ผู้ยื่นคำขอหรือผู้คัดค้านคำขอ ผู้อยู่ในบังคับหรือจะอยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง และผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองเนื่องจากสิทธิของผู้นั้นจะถูกกระทบกระเทือนจากผลของคำสั่งทาง ปกครอง
มาตรา 6 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศ เพื่อ ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด 1
คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง


มาตรา 7 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง" ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาและผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคนเป็น กรรมการ
ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญใน ทางนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ผู้นั้นต้องไม่เป็น ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเลขานุการและ ผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา 8 ให้กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสามปีกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการใหม่ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการใหม่
มาตรา 9 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 8 กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจาก ตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกหรือเมื่อมีเหตุหนึ่งเหตุใดตามมาตรา 76
มาตรา 10 ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษาหาข้อมูลและกิจการต่าง ๆที่เกี่ยวกับงานของคณะ กรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาตรา 11 คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(2) ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่บุคคลดังกล่าวร้องขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกำหนด
(3) มีหนังสือเรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณาได้
(4) เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้
(5) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติราชการทางปกครองให้เป็นไปโดยมีความเป็นธรรมและมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(6) เรื่องอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

หมวด 2
คำสั่งทางปกครอง



ส่วนที่ 1
เจ้าหน้าที่


มาตรา 12 คำสั่งทางปกครองจะต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น
มาตรา 13 เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
(1) เป็นคู่กรณีเอง
(2) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
(3) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียง ภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น
(4) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี
(5) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
(6) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 14 เมื่อมีกรณีตามมาตรา 13 หรือคู่กรณีคัดค้านว่าเจ้าหน้าที่ผู้ใดเป็นบุคคลตามมาตรา 13 ให้เจ้าหน้าที่ ผู้นั้นหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อน และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งทราบ เพื่อที่ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวจะ ได้มีคำสั่งต่อไป
การยื่นคำคัดค้าน การพิจารณาคำคัดค้าน และการสั่งให้เจ้าหน้าที่อื่นเข้าปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ที่ถูกคัดค้านให้เป็น ไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 15 เมื่อมีกรณีตามมาตรา 13 หรือคู่กรณีคัดค้านว่ากรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทาง ปกครองคณะใดมีลักษณะดังกล่าว ให้ประธานกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเหตุคัดค้านนั้น ในการ ประชุมดังกล่าวกรรมการผู้ถูกคัดค้านเมื่อได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและตอบข้อซักถามแล้วต้องออกจากที่ประชุม
ถ้าคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองคณะใดมีผู้ถูกคัดค้าน ในระหว่างที่กรรมการผู้ถูกคัดค้านต้อง ออกจากที่ประชุม ให้ถือว่าคณะกรรมการคณะนั้นประกอบด้วยกรรมการทุกคนที่ไม่ถูกคัดค้าน
ถ้าที่ประชุมมีมติให้กรรมการผู้ถูกคัดค้านปฏิบัติหน้าที่ต่อไปด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของ กรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน ก็ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้มติดังกล่าวให้กระทำโดยวิธีลงคะแนนลับและให้เป็น ที่สุด
การยื่นคำคัดค้านและการพิจารณาคำคัดค้านให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 16 ในกรณีมีเหตุอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะ กรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าที่ หรือกรรมการผู้นั้นจะทำการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นไม่ได้
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการดังนี้
(1) ถ้าผู้นั้นเห็นเองว่าตนมีกรณีดังกล่าว ให้ผู้นั้นหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อนและแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตน ขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี
(2) ถ้ามีคู่กรณีคัดค้านว่าผู้นั้นมีเหตุดังกล่าว หากผู้นั้นเห็นว่าตนไม่มีเหตุตามที่คัดค้านนั้น ผู้นั้นจะทำการ พิจารณาเรื่องต่อไปก็ได้แต่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี
(3) ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองซึ่งผู้นั้นเป็นกรรมการอยู่มีคำสั่ง หรือมีมติโดยไม่ชักช้า แล้วแต่กรณี ว่าผู้นั้นมีอำนาจในการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นหรือไม่
ให้นำบทบัญญัติมาตรา 14 วรรคสอง และมาตรา 15 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 17 การกระทำใด ๆ ของเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองที่ได้ กระทำไปก่อนหยุด การพิจารณาตามมาตรา 14 และมาตรา 16 ย่อมไม่เสียไป เว้นแต่เจ้าหน้าที่ ผู้เข้าปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้ถูกคัดค้านหรือคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง แล้วแต่กรณีจะเห็นสมควรดำเนินการส่วนหนึ่งส่วนใด เสียใหม่ก็ได้
มาตรา 18 บทบัญญัติมาตรา 13 ถึงมาตรา 16 ไม่ให้นำมาใช้บังคับกับกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อย ให้ล่าช้าไปจะเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะหรือสิทธิของบุคคลจะเสียหายโดยไม่มีทางแก้ไขได้ หรือไม่มีเจ้าหน้าที่อื่น ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้นั้นได้
มาตรา 19 ถ้าปรากฏภายหลังว่าเจ้าหน้าที่หรือกรรมการใน คณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองใด ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือการแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งการ พ้นจากตำแหน่งเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่
มาตรา 20 ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งตามมาตรา 14 และมาตรา 16 ให้หมายความรวมถึง ผู้ซึ่ง กฎหมายกำหนดให้มีอำนาจกำกับหรือควบคุมดูแลสำหรับกรณีของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาโดยตรง และ นายกรัฐมนตรีสำหรับกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเป็นรัฐมนตรี

ส่วนที่ 2
คู่กรณี


มาตรา 21 บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล อาจเป็นคู่กรณีในการพิจารณาทางปกครองได้ตาม ขอบเขตที่สิทธิของตนถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกกระทบกระเทือนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
มาตรา 22 ผู้มีความสามารถกระทำการในกระบวนการพิจารณาทางปกครองได้จะต้องเป็น
(1) ผู้ซึ่งบรรลุนิติภาวะ
(2) ผู้ซึ่งมีบทกฎหมายเฉพาะกำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติ ภาวะหรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(3) นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา 21 โดยผู้แทนหรือตัวแทน แล้วแต่กรณี
(4) ผู้ซึ่งมีประกาศของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้มีความ สามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 23 ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฎตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่คู่กรณีมีสิทธินำทนายความ หรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทำลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทำของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้ คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น
มาตรา 24 คู่กรณีอาจมีหนังสือแต่งตั้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่กำหนดแทนตนในกระบวนการพิจารณาทางปกครองใด ๆ ได้ในการนี้เจ้าหน้าที่จะดำเนินกระบวนพิจารณา ทางปกครองกับตัวคู่กรณีได้เฉพาะเมื่อเป็นเรื่องที่ผู้นั้นมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องทำการนั้นด้วยตนเองและต้องแจ้งให้ผู้ได้รับ การแต่งตั้งให้กระทำการแทนทราบด้วย
หากปรากฏว่าผู้ได้รับการแต่งตั้งให้กระทำการแทนผู้ใดไม่ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นเพียงพอหรือมีเหตุไม่ควรไว้ วางใจในความสามารถของบุคคลดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้คู่กรณีทราบโดยไม่ชักช้า
การแต่งตั้งให้กระทำการแทนไม่ถือว่าสิ้นสุดลงเพราะความตายของคู่กรณีหรือการที่ความสามารถหรือความเป็น ผู้แทนของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ผู้สืบสิทธิตามกฎหมายของคู่กรณีหรือคู่กรณีจะถอนการแต่งตั้งดังกล่าว
มาตรา 25 ในกรณีที่มีการยื่นคำขอโดยมีผู้ลงชื่อร่วมกันเกินห้าสิบคนหรือมีคู่กรณีเกินห้าสิบคนยื่นคำขอที่มี ข้อความอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน ถ้าในคำขอมีการระบุให้บุคคลใดเป็นตัวแทนของบุคคลดังกล่าวหรือมีข้อความ เป็นปริยายให้เข้าใจได้เช่นนั้น ให้ถือว่าผู้ที่ถูกระบุชื่อดังกล่าวเป็นตัวแทนร่วมของคู่กรณีเหล่านั้น
ในกรณีที่มีคู่กรณีเกินห้าสิบคนยื่นคำขอให้มีคำสั่งทางปกครองในเรื่องเดียวกัน โดยไม่มีการกำหนดให้บุคคลใด เป็นตัวแทนร่วมของตนตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ในเรื่องนั้นแต่งตั้งบุคคลที่คู่กรณีฝ่ายข้างมากเห็นชอบเป็นตัวแทนร่วม ของบุคคลดังกล่าว ในกรณีนี้ให้นำมาตรา 24 วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ตัวแทนร่วมตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องเป็นบุคคลธรรมดา
คู่กรณีจะบอกเลิกการให้ตัวแทนร่วมดำเนินการแทนตนเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบและ ดำเนินการใด ๆ ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองต่อไปด้วยตนเอง
ตัวแทนร่วมจะบอกเลิกการเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบกับต้องแจ้งให้คู่กรณี ทุกรายทราบด้วย

ส่วนที่ 3
การพิจารณา


มาตรา 26 เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ให้จัดทำเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ คู่กรณีจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีนี้ให้ถือ ว่าเอกสารดังกล่าวได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคำแปลนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็น ภาษาต่างประเทศ และในกรณีนี้ให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับ เอกสารดังกล่าว
การรับรองความถูกต้องของคำแปลเป็นภาษาไทยหรือการยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้เป็น ไปตามตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 27 ให้เจ้าหน้าที่แจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบตามความ จำเป็นแก่กรณี
ถ้าคำขอหรือคำแถลงมีข้อบกพร่องหรือมีข้อความที่อ่านไม่เข้าใจหรือผิดหลงอันเห็นได้ชัดว่าเกิดจากความไม่รู้ หรือความเลินเล่อของคู่กรณี ให้เจ้าหน้าที่แนะนำให้คู่กรณีแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง
มาตรา 28 ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสมในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องผูกพันอยู่กับคำขอหรือพยานหลักฐานของคู่กรณี
มาตรา 29 เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่ตนเห็นว่าจำเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง ในการนี้ ให้รวมถึง การดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
(2) รับฟังพยานหลักฐาน คำชี้แจง หรือความเห็นของคู่กรณีหรือของพยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่คู่กรณี กล่าวอ้าง เว้นแต่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่จำเป็นฟุ่มเฟือยหรือเพื่อประวิงเวลา
(3) ขอข้อเท็จจริงหรือความเห็นจากคู่กรณี พยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
(4) ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
(5) ออกไปตรวจสถานที่
คู่กรณีต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง และมีหน้าที่แจ้งพยานหลักฐานที่ตนทราบแก่ เจ้าหน้าที่
พยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่เจ้าหน้าที่เรียกมาให้ถ้อยคำหรือทำความเห็นมีสิทธิได้รับค่าป่วยการตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 30 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะเห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น
(1) เมื่อมีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
(2) เมื่อจะมีผลทำให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกำหนดไว้ในการทำคำสั่งทางปกครองต้องล่าช้าออกไป
(3) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคำขอ คำให้การหรือคำแถลง
(4) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทำได้
(5) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง
(6) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ให้โอกาสตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ
มาตรา 31 คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณีไม่มีสิทธิขอตรวจดูเอกสารอันเป็นต้นร่างคำวินิจฉัย
การตรวจดูเอกสาร ค่าใช้จ่ายในการตรวจดูเอกสาร หรือการจัดทำสำเนาเอกสารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธี การที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 32 เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ถ้าเป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็น ความลับ
มาตรา 33 เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนความประหยัดและความมีประสิทธิภาพใน การดำเนินงานของรัฐให้คณะรัฐมนตรีวางระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้เจ้าหน้าที่กำหนดเวลาสำหรับการ พิจารณาทางปกครองขึ้นไว้ตามความเหมาะสมแก่กรณี ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายหรือกฎในเรื่องนั้น
ในกรณีที่การดำเนินงานในเรื่องใดจะต้องผ่านการพิจารณาของเจ้าหน้าที่มากกว่าหนึ่งราย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ต้องประสานงานกันในการกำหนดเวลาเพื่อการดำเนินงานในเรื่องนั้น

ส่วนที่ 4
รูปแบบและผลของคำสั่งทางปกครอง


มาตรา 34 คำสั่งทางปกครองอาจทำเป็นหนังสือหรือวาจาหรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้อง มีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้
มาตรา 35 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจาถ้าผู้รับคำสั่งนั้นร้องขอและการร้องขอได้กระทำโดย มีเหตุอันสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าวเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ
มาตรา 36 คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสืออย่างน้อยต้องระบุ วัน เดือนและปีที่ทำคำสั่ง ชื่อและตำแหน่งของ เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้น
มาตรา 37 คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผล ไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
(2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
(3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
นายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายอาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้คำสั่งทางปกครอง กรณีหนึ่งกรณีใดต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งนั้นเองหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่งนั้นก็ได้
บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) เป็นกรณีที่มีผลตรงตามคำขอและไม่กระทบสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น
(2) เหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก
(3) เป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับตามมาตรา 32
(4) เป็นการออกคำสั่งทางปกครองด้วยวาจาหรือเป็นกรณีเร่งด่วน แต่ต้องให้เหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรใน เวลาอันควรหากผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งนั้นร้องขอ
มาตรา 38 บทบัญญัติตามมาตรา 36 และมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับคำสั่งทางปกครองที่กำหนดใน กฎกระทรวง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 39 การออกคำสั่งทางปกครองเจ้าหน้าที่อาจกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ได้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของกฎหมาย เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดข้อจำกัดดุลพินิจเป็นอย่างอื่น
การกำหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกำหนดเงื่อนไขในกรณีดังต่อไปนี้ ตามความ เหมาะสมแก่กรณีด้วย
(1) การกำหนดให้สิทธิหรือภาระหน้าที่เริ่มมีผลหรือสิ้นผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
(2) การกำหนดให้การเริ่มมีผลหรือสิ้นผลของสิทธิหรือภาระหน้าที่ต้องขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน
(3) ข้อสงวนสิทธิที่จะยกเลิกคำสั่งทางปกครอง
(4) การกำหนดให้ผู้ได้รับประโยชน์ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำหรือต้องมีภาระหน้าที่หรือยอมรับภาระหน้าที่ หรือความรับผิดชอบบางประการ หรือการกำหนดข้อความในการจัดให้มี เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มข้อกำหนดดังกล่าว
มาตรา 40 คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง การยื่น คำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย
ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งเริ่มนับใหม่ตั้งแต่ วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่และระยะเวลาดังกล่าวมีระยะเวลาสั้นกว่าหนึ่งปี ให้ขยาย เป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง
มาตรา 41 คำสั่งทางปกครองที่ออกโดยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไม่เป็นเหตุให้คำสั่ง ทางปกครองนั้นไม่สมบูรณ์
(1) การออกคำสั่งทางปกครองโดยยังไม่มีผู้ยื่นคำขอในกรณีที่เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเองไม่ได้นอกจากจะมี ผู้ยื่นคำขอ ถ้าต่อมาในภายหลังได้มีการยื่นคำขอเช่นนั้นแล้ว
(2) คำสั่งทางปกครองที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง ถ้าได้มีการจัดให้มีเหตุผลดังกล่าว ในภายหลัง
(3) การรับฟังคู่กรณีที่จำเป็นต้องกระทำได้ดำเนินการมาโดยไม่สมบูรณ์ ถ้าได้มีการรับฟังให้สมบูรณ์ในภายหลัง
(4) คำสั่งทางปกครองที่ต้องให้เจ้าหน้าที่อื่นให้ความเห็นชอบก่อนถ้าเจ้าหน้าที่นั้นได้ให้ความเห็นชอบในภายหลัง เมื่อมีการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) หรือ (4) แล้ว และเจ้าหน้าที่ผู้มีคำสั่งทางปกครองประสงค์ให้ผล เป็นไปตามคำสั่งเดิม ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นบันทึกข้อเท็จจริงและความประสงค์ของตนไว้ในหรือแนบไว้กับคำสั่งเดิมและต้องมี หนังสือแจ้งความประสงค์ของตนให้คู่กรณีทราบด้วย
กรณีตาม (2) (3) และ (4) จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ตามส่วนที่ 5 ของหมวดนี้ หรือ ตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้น หรือถ้าเป็นกรณีที่ไม่ต้องมีการอุทธรณ์ดังกล่าวก็ต้องก่อนมีการนำคำสั่งทางปกครองไป สู่การพิจารณาของผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องของคำสั่งทางปกครองนั้น
มาตรา 42 คำสั่งทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อบุคคลตั้งแต่ขณะที่ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป คำสั่งทางปกครองย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น
เมื่อคำสั่งทางปกครองสิ้นผลลง ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกผู้ซึ่งครอบครองเอกสารหรือวัตถุอื่นใดที่ได้จัดทำขึ้น เนื่องในการมีคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ซึ่งมีข้อความหรือเครื่องหมายแสดงถึงการมีอยู่ของคำสั่งทางปกครองนั้น ให้ ส่งคืนสิ่งนั้นหรือให้นำสิ่งของดังกล่าวอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้นั้นมาให้เจ้าหน้าที่จัดทำเครื่องหมายแสดงการสิ้นผลของ คำสั่งทางปกครองดังกล่าวได้
มาตรา 43 คำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยนั้นเจ้าหน้าที่อาจแก้ไขเพิ่มเติม ได้เสมอ
ในการแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองตามวรรคหนึ่งให้แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบตามควรแก่กรณี ในการนี้ เจ้าหน้าที่อาจเรียกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดส่งคำสั่งทางปกครอง เอกสารหรือวัตถุอื่นใดที่ได้จัดทำขึ้นเนื่องในการมีคำสั่งทาง ปกครองดังกล่าวมาเพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมได้

ส่วนที่ 5
การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง


มาตรา 44 ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมาย กำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว
คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย
การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง
มาตรา 45 ให้เจ้าหน้าที่ตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง พิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่ เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้ดำเนินการ เปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองตามความเห็นของตนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย
ถ้าเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้เร่งรายงาน ความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีอำนาจพิจารณา คำอุทธรณ์พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตนได้รับรายงาน ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ใน การนี้ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว
เจ้าหน้าที่ผู้ใดจะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
บทบัญญัติมาตรานี้ไม่ใช้กับกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 46 ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาทบทวนคำสั่งทางปกครองได้ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางปกครอง และอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเดิม หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นไปในทางใดทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มภาระหรือลดภาระหรือใช้ดุลพินิจแทนในเรื่องความ เหมาะสมของการทำคำสั่งทางปกครองหรือมีข้อกำหนดเป็นเงื่อนไขอย่างไรก็ได้
มาตรา 47 การใดที่กฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคณะกรรมการขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น สำหรับกระบวนการพิจารณาให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ หมวด 2 นี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือ แย้งกับกฎหมายดังกล่าว
มาตรา 48 คำสั่งทางปกครองของบรรดาคณะกรรมการต่าง ๆ ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายหรือไม่ ให้คู่กรณี มีสิทธิโต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและ ข้อกฎหมาย ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะกรรมการวินิจฉัย ข้อพิพาท สิทธิการอุทธรณ์และกำหนดเวลาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา

ส่วนที่ 6
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง


มาตรา 49 เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ใน มาตรา 51 มาตรา 52 และมาตรา 53 ไม่ว่าจะพ้นขั้นตอนการกำหนดให้อุทธรณ์หรือให้โต้แย้งตามกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่นมาแล้วหรือไม่
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายในเก้าสิบวันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุ ที่จะให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น เว้นแต่คำสั่งทางปกครองจะได้ทำขึ้นเพราะการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งหรือการข่มขู่หรือการชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วย กฎหมาย
มาตรา 50 คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผล ย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดได้ แต่ถ้าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งซึ่งเป็น การให้ประโยชน์แก่ผู้รับ การเพิกถอนต้องเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 51และมาตรา 52
มาตรา 51 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้เงินหรือให้ทรัพย์สินหรือให้ ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ ให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองนั้น กับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน
ความเชื่อโดยสุจริตตามวรรคหนึ่งจะได้รับความคุ้มครองต่อเมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครองได้ใช้ประโยชน์อันเกิดจาก คำสั่งทางปกครองหรือได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้วโดยไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้หรือการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ ผู้นั้นต้องเสียหายเกินควรแก่กรณี
ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้รับคำสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้
(1) ผู้นั้นได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งหรือข่มขู่ หรือชักจูงใจโดยการให้ ทรัพย์สินหรือให้ประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
(2) ผู้นั้นได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสำคัญ
(3) ผู้นั้นได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครอง ในขณะได้รับคำสั่งทางปกครองหรือการไม่รู้นั้น เป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ในกรณีที่เพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลัง การคืนเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ผู้รับคำสั่งทางปกครองได้ไป ให้นำ บทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยถ้าเมื่อใดผู้รับคำสั่ง ทางปกครองได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองหรือควรได้รู้เช่นนั้นหากผู้นั้นมิได้ประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรงให้ถือว่าผู้นั้นตกอยู่ในฐานะไม่สุจริตตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไป และในกรณีตามวรรคสาม ผู้นั้นต้องรับผิด ในการคืนเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ได้รับไปเต็มจำนวน
มาตรา 52 คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 51 อาจถูกเพิกถอนทั้งหมด หรือบางส่วนได้ แต่ผู้ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าทดแทนความเสียหาย เนื่องจากความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองได้ และให้นำความในมาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ต้องร้องขอค่าทดแทนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการ เพิกถอนนั้น
ค่าทดแทนความเสียหายตามมาตรานี้จะต้องไม่สูงกว่าประโยชน์ที่ผู้นั้นอาจได้รับหากคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ไม่ถูกเพิกถอน
มาตรา 53 คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครองอาจถูก เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอนหรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่คงต้องทำคำสั่งทางปกครองที่มีเนื้อหาทำนองเดียวกันนั้นอีก หรือเป็นกรณีที่การเพิกถอนไม่อาจกระทำ ได้เพราะเหตุอื่น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงประโยชน์ของบุคคลภายนอกประกอบด้วย
คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครองอาจถูกเพิกถอนทั้งหมด หรือบางส่วนโดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอน หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดได้เฉพาะเมื่อมีกรณี ดังต่อไปนี้
(1) มีกฎหมายกำหนดให้เพิกถอนได้หรือมีข้อสงวนสิทธิให้เพิกถอนได้ในคำสั่งทางปกครองนั้นเอง
(2) คำสั่งทางปกครองนั้นมีข้อกำหนดให้ผู้รับประโยชน์ต้องปฏิบัติ แต่ไม่มีการปฏิบัติภายในเวลาที่กำหนด
(3) ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีข้อเท็จจริง และพฤติการณ์เช่นนี้ในขณะทำคำสั่งทาง ปกครองแล้วเจ้าหน้าที่คงจะไม่ทำคำสั่งทางปกครองนั้น และหากไม่เพิกถอนจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ สาธารณะได้
(4) บทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีบทกฎหมายเช่นนี้ในขณะทำคำสั่งทางปกครองแล้วเจ้าหน้าที่คงจะไม่ ทำคำสั่งทางปกครองนั้น แต่การเพิกถอนในกรณีนี้ให้กระทำได้เท่าที่ผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือยังไม่ได้รับ ประโยชน์ตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าวและหากไม่เพิกถอนจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้
(5) อาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะหรือต่อประชาชนอันจำเป็นต้องป้องกันหรือขจัด เหตุดังกล่าว
ในกรณีที่มีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเพราะเหตุตามวรรคสอง (3) (4) และ (5)ผู้ได้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับ ค่าทดแทนความเสียหายอันเกิดจากความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองได้ และให้นำมาตรา 52 มาใช้ บังคับโดยอนุโลม
คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้เงินหรือให้ทรัพย์สินหรือให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยให้มีผลย้อนหลังหรือไม่มีผลย้อนหลังหรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่ง ตามที่กำหนดได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในอันที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครอง
(2) ผู้ได้รับประโยชน์มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในอันที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของคำสั่งทาง ปกครอง
ทั้งนี้ ให้นำความในมาตรา 51 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ส่วนที่ 7
การขอให้พิจารณาใหม่


มาตรา 54 เมื่อคู่กรณีมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์ ตามส่วนที่ 5 ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ
(2) คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองหรือได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณา ครั้งก่อนแล้วแต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง
(3) เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจที่จะทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(4) ถ้าคำสั่งทางปกครองได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้น เปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่คู่กรณี
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคู่กรณีไม่อาจทราบถึงเหตุนั้นในการพิจารณา ครั้งที่แล้วมาก่อนโดยไม่ใช่ความผิดของผู้นั้น
การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ต้องกระทำภายในเก้าสิบวันนับแต่ผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้

ส่วนที่ 8
การบังคับทางปกครอง


มาตรา 55 การบังคับทางปกครองไม่ใช้กับเจ้าหน้าที่ด้วยกัน เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 56 เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองมีอำนาจที่จะพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองเพื่อให้เป็นไป ตามคำสั่งของตนได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้ก่อนโดยเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นเอง ผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์หรือผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องของคำสั่งทางปกครองดังกล่าว
เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งจะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองใช้มาตรการบังคับทางปกครองเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุตาม วัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครอง โดยกระทบกระเทือนผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองน้อยที่สุด
มาตรา 57 คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตาม คำเตือน เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นและขายทอดตลาดเพื่อชำระเงิน ให้ครบถ้วน
วิธีการยึด การอายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดย อนุโลม ส่วนผู้มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 58 คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำ ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทนโดยผู้อยู่ในบังคับของคำสั่ง ทางปกครองจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายและเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบห้าต่อปีของค่าใช้จ่ายดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่
(2) ให้มีการชำระค่าปรับทางปกครองตามจำนวนที่สมควรแก่เหตุแต่ต้องไม่เกินสองหมื่นบาทต่อวัน เจ้าหน้าที่ระดับใดมีอำนาจกำหนดค่าปรับทางปกครองจำนวนเท่าใดสำหรับในกรณีใด ให้เป็นไปตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง
ในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องบังคับการโดยเร่งด่วนเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายที่มีโทษทาง อาญาหรือมิให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะเจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยไม่ต้องออกคำสั่ง ทางปกครองให้กระทำหรือละเว้นกระทำก่อนก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องกระทำโดยสมควรแก่เหตุและภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของตน
มาตรา 59 ก่อนใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา 58 เจ้าหน้าที่จะต้องมีคำเตือนเป็นหนังสือให้มีการ กระทำหรือละเว้นกระทำตามคำสั่งทางปกครองภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสมควรแก่กรณี คำเตือนดังกล่าวจะกำหนด ไปพร้อมกับคำสั่งทางปกครองก็ได้
คำเตือนนั้นจะต้องระบุ
(1) มาตรการบังคับทางปกครองที่จะใช้ให้ชัดแจ้ง แต่จะกำหนดมากกว่าหนึ่งมาตรการในคราวเดียวกันไม่ได้
(2) ค่าใช้จ่ายในการที่เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทน หรือจำนวน ค่าปรับทางปกครอง แล้วแต่กรณี
การกำหนดค่าใช้จ่ายในคำเตือน ไม่เป็นการตัดสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหากจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจริง มากกว่าที่ได้กำหนดไว้
มาตรา 60 เจ้าหน้าที่จะต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามที่กำหนดไว้ในคำเตือนตามมาตรา 59 การเปลี่ยนแปลงมาตรการจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามาตรการที่กำหนดไว้ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์
ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองต่อสู้ขัดขวางการบังคับทางปกครองเจ้าหน้าที่อาจใช้กำลังเข้าดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการบังคับทางปกครองได้แต่ต้องกระทำโดยสมควรแก่เหตุ ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่อาจขอความ ช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตำรวจได้
มาตรา 61 ในกรณีไม่มีการชำระค่าปรับทางปกครอง ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 57
มาตรา 62 ผู้ถูกดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครองอาจอุทธรณ์การบังคับทางปกครองนั้นได้ การอุทธรณ์การบังคับทางปกครองให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
มาตรา 63 ถ้าบทกฎหมายใดกำหนดมาตรการบังคับทางปกครองไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่เจ้าหน้าที่เห็นว่า มาตรการบังคับนั้นมีลักษณะที่จะเกิดผลน้อยกว่ามาตรการบังคับตามหมวดนี้ เจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการบังคับทาง ปกครองตามหมวดนี้แทนก็ได้

หมวด 3
ระยะเวลาและอายุความ


มาตรา 64 กำหนดเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน หรือปีนั้น มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วย เว้นแต่ จะได้เริ่มการในวันนั้นหรือมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นโดยเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้นับวันสิ้นสุดของระยะ เวลานั้นรวมเข้าด้วยแม้ว่าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดทำการงานสำหรับเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่บุคคลใดต้องทำการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยกฎหมายหรือโดยคำสั่งของ เจ้าหน้าที่ ถ้าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดทำการงานสำหรับเจ้าหน้าที่หรือวันหยุดตามประเพณีของบุคคลผู้รับคำสั่ง ให้ถือว่า ระยะเวลานั้นสิ้นสุดในวันทำงานที่ถัดจากวันหยุดนั้น เว้นแต่กฎหมายหรือเจ้าหน้าที่ที่มีคำสั่งจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 65 ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่งของเจ้าหน้าที่อาจมีการขยายอีกได้ และถ้าระยะเวลานั้นได้สิ้นสุดลง แล้วเจ้าหน้าที่อาจขยายโดยกำหนดให้มีผลย้อนหลังได้เช่นกันถ้าการสิ้นสุดตามระยะเวลาเดิมจะก่อให้เกิด ความไม่เป็นธรรมที่จะให้สิ้นสุดลงตามนั้น
มาตรา 66 ในกรณีที่ผู้ใดไม่อาจกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายได้ เพราะมีพฤติการณ์ที่จำเป็นอันมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของผู้นั้น ถ้าผู้นั้นมีคำขอเจ้าหน้าที่อาจขยายระยะเวลาและดำเนิน การส่วนหนึ่งส่วนใดที่ล่วงมาแล้วเสียใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ต้องยื่นคำขอภายในสิบห้าวันนับแต่พฤติการณ์เช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง
มาตรา 67 เมื่อมีการอุทธรณ์ตามบทบัญญัติในส่วนที่ 5 ของหมวด 2 แห่งพระราชบัญญัตินี้หรือการยื่นคำขอ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทหรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้ วินิจฉัยชี้ขาดแล้วให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไม่นับในระหว่างนั้นจนกว่าการพิจารณาจะถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่น แต่ถ้าเสร็จไปเพราะเหตุถอนคำขอหรือทิ้งคำขอให้ถือว่าอายุความเรียกร้องของผู้ยื่นคำขอไม่เคยมีการสะดุดหยุดอยู่เลย

หมวด 4
การแจ้ง


มาตรา 68 บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับการแจ้งซึ่งไม่อาจกระทำโดยวาจาหรือเป็นหนังสือได้หรือมี กฎหมายกำหนดวิธีการแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณีคำสั่งทางปกครองที่แสดงให้ทราบโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้มี ผลเมื่อได้แจ้ง
มาตรา 69 การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอย่างอื่นที่เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทราบอาจกระทำด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้กระทำเป็นหนังสือก็ให้แจ้งเป็นหนังสือ
การแจ้งเป็นหนังสือให้ส่งหนังสือแจ้งต่อผู้นั้น หรือถ้าได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งตั้งแต่ใน ขณะที่ไปถึง
ในการดำเนินการเรื่องใดที่มีการให้ที่อยู่ไว้กับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว การแจ้งไปยังที่อยู่ดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการแจ้งไป ยังภูมิลำเนาของผู้นั้นแล้ว
มาตรา 70 การแจ้งเป็นหนังสือโดยวิธีให้บุคคลนำไปส่ง ถ้าผู้รับไม่ยอมรับหรือถ้าขณะนำไปส่งไม่พบผู้รับ และ หากได้ส่งให้กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทำงานในสถานที่นั้น หรือในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมรับ หากได้วางหนังสือ นั้นหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานที่นั้นต่อหน้าเจ้าพนักงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ไปเป็นพยานก็ ให้ถือว่าได้รับแจ้งแล้ว
มาตรา 71 การแจ้งโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสำหรับ กรณีภายในประเทศหรือเมื่อครบกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อนหรือหลังจากวันนั้น
มาตรา 72 ในกรณีที่มีผู้รับเกินห้าสิบคนเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบตั้งแต่เริ่มดำเนินการในเรื่องนั้นว่าการแจ้งต่อ บุคคลเหล่านั้นจะกระทำโดยวิธีปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการของเจ้าหน้าที่และที่ว่าการอำเภอที่ผู้รับมีภูมิลำเนาก็ได้ ในกรณี นี้ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้แจ้งโดยวิธีดังกล่าว
มาตรา 73 ในกรณีที่ไม่รู้ตัวผู้รับหรือรู้ตัวแต่ไม่รู้ภูมิลำเนาหรือรู้ตัวและภูมิลำเนาแต่มีผู้รับเกินหนึ่งร้อยคน การ แจ้งเป็นหนังสือจะกระทำโดยการประกาศในหนังสือพิมพ์ซึ่งแพร่หลายในท้องถิ่นนั้นก็ได้ ในกรณีนี้ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อ ล่วงพ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้แจ้งโดยวิธีดังกล่าว
มาตรา 74 ในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนการแจ้งคำสั่งทางปกครองจะใช้วิธีส่งทางเครื่องโทรสารก็ได้ แต่ต้องมี หลักฐานการได้ส่งจากหน่วยงานผู้จัดบริการโทรคมนาคมที่เป็นสื่อในการส่งโทรสารนั้น และต้องจัดส่งคำสั่งทางปกครอง ตัวจริงโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามหมวดนี้ให้แก่ผู้รับในทันทีที่อาจกระทำได้ ในกรณีนี้ให้ถือว่าผู้รับได้รับแจ้งคำสั่งทางปกครอง เป็นหนังสือตามวัน เวลา ที่ปรากฏในหลักฐานของหน่วยงานผู้จัดบริการโทรคมนาคมดังกล่าว เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อนหรือหลังจากนั้น

หมวด 5
คณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครอง


มาตรา 75 การแต่งตั้งกรรมการในลักษณะที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้แต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคล
มาตรา 76 นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดย ประมาท
(6) มีเหตุต้องพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา 77 ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการ ซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ที่ได้ รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว
มาตรา 78 ภายใต้บังคับมาตรา 76 การให้กรรมการในคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทพ้นจากตำแหน่งก่อน ครบวาระจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีมีเหตุบกพร่องอย่างยิ่งต่อหน้าที่หรือมีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
มาตรา 79 ภายใต้บังคับมาตรา 15 วรรคสอง การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุม อย่างน้อยกึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือกฎหรือคำสั่งที่จัดให้มีคณะกรรมการชุดนั้นจะ กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่มีกรรมการครบที่จะเป็นองค์ประชุมได้ แต่การพิจารณาเรื่องใดถ้าต้องเลื่อนมาเพราะไม่ครบองค์ประชุม ถ้าเป็นการประชุมของคณะกรรมการซึ่งมิใช่คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท หากได้มีการนัดประชุมเรื่องนั้นอีกภายในสิบสี่ วันนับแต่วันนัดประชุมที่เลื่อนมาและการประชุมครั้งหลังนี้มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวน กรรมการทั้งหมดให้ถือว่าเป็นองค์ประชุม แต่ทั้งนี้ต้องระบุความประสงค์ให้เกิดผลตามบทบัญญัตินี้ไว้ในหนังสือนัดประชุม ด้วย
มาตรา 80 การประชุมให้เป็นไปตามระเบียบการที่คณะกรรมการกำหนด การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือและแจ้งให้กรรมการทุกคนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน เว้นแต่กรรมการ นั้นจะได้ทราบการบอกนัดในที่ประชุมแล้ว กรณีดังกล่าวนี้จะทำหนังสือแจ้งนัดเฉพาะกรรมการที่ไม่ได้มาประชุมก็ได้ บทบัญญัติในวรรคสองมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งประธานกรรมการจะนัดประชุมเป็น อย่างอื่นก็ได้
มาตรา 81 ประธานกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการประชุม และเพื่อรักษาความเรียบร้อยในการประชุม ให้ประธานมีอำนาจออกคำสั่งใด ๆ ตามความจำเป็นได้
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่แทน ถ้าไม่มีรองประธานกรรมการหรือมี แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่ง ขึ้นทำหน้าที่แทน
ในกรณีที่ประธานกรรมการมีหน้าที่ต้องดำเนินการใด ๆ นอกจากการดำเนินการประชุมให้นำความในวรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 82 การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้น อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
เรื่องใดถ้าไม่มีผู้คัดค้าน ให้ประธานถามที่ประชุมว่ามีผู้เห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่เมื่อไม่มีผู้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้ ถือว่าที่ประชุมลงมติเห็นชอบในเรื่องนั้น
มาตรา 83 ในการประชุมต้องมีรายงานการประชุมเป็นหนังสือ ถ้ามีความเห็นแย้งให้บันทึกความเห็นแย้งพร้อมทั้งเหตุผลไว้ในรายงานการประชุม และถ้ากรรมการฝ่ายข้างน้อย เสนอความเห็นแย้งเป็นหนังสือก็ให้บันทึกความเห็นแย้งนั้นไว้ด้วย
มาตรา 84 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทต้องมีลายมือชื่อของกรรมการที่วินิจฉัยเรื่องนั้น ถ้ากรรมการคนใดมีความเห็นแย้ง ให้มีสิทธิทำความเห็นแย้งของตนรวมไว้ในคำวินิจฉัยได้

บทเฉพาะกาล


มาตรา 85 ให้ถือว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2532 เป็นระเบียบที่คณะรัฐมนตรีวางขึ้นตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 86 บรรดาคำขอเพื่อให้มีคำสั่งทางปกครองที่เจ้าหน้าที่ได้รับไว้ก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาคำขอดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายหรือกฎสำหรับเรื่องนั้นได้กำหนดไว้
มาตรา 87 เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว บทบัญญัติมาตรา 48 ให้เป็นอันยกเลิก

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี



--------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การดำเนินงานทางปกครองในปัจจุบันยังไม่มี หลักเกณฑ์และขั้นตอนที่เหมาะสม จึงสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับการดำเนินงานทางปกครองขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายมีประสิทธิภาพในการใช้บังคับกฎหมายให้สามารถรักษาประโยชน์ สาธารณะได้ และอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551


พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
เป็นปีที่ 63 ในรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551"
--
มาตรา 2พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
-
มาตรา 3ให้ยกเลิกความใน (3) (4) และ (5) ของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
-
"(3) กรรมการโดยตําแหน่งจํานวนแปดคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เลขาธิการ ก.พ.เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการ ก.ค.ศ.และเลขาธิการคุรุสภา
-
(4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนเก้าคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงทางด้านการศึกษา ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารการจัดการภาครัฐ ด้านการบริหารองค์กร ด้านการศึกษาพิเศษ ด้านการบริหารธุรกิจ หรือด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการผลิตและพัฒนาครู และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือด้านการบริหารจัดการความรู้หรือด้านการวิจัยและประเมินผล ด้านละหนึ่งคน
(5) กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งมาจากการเลือกตั้งจํานวนเก้าคน ประกอบด้วย ผู้แทนผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจํานวนหนึ่งคน ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่ เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานการศึกษาตามที่ ก.ค.ศ.กําหนดจํานวนหนึ่งคน ผู้แทนข้าราชการครูจํานวนหกคน โดยให้เลือกจากข้าราชการครูในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจํานวนสี่คน ในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจํานวนหนึ่งคน และในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมจํานวนหนึ่งคน และผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่นจํานวนหนึ่งคน"
มาตรา 4ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
"(6) มิได้เป็นผู้ดํารงตําแหน่งหรือเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่ตนได้รับเลือก"
มาตรา 5ให้ยกเลิกความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา 18 ภายใต้บังคับมาตรา 17 ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาจะเป็นกรรมการใน ก.ค.ศ.อนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรืออนุกรรมการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ในขณะเดียวกันมิได้ เว้นแต่การเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการโดยตําแหน่ง"

มาตรา 6ให้ยกเลิกความใน (14) ของมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(14) ในกรณีที่ปรากฏว่าส่วนราชการ หน่วยงานการศึกษา อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาคณะอนุกรรมการหรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการโดยไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม หรือปฏิบัติการโดยขัดหรือแย้งกับกฎหมาย กฎ ก.ค.ศ.ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่ ก.ค.ศ.กําหนด ให้ ก.ค.ศ.มีอํานาจยับยั้งการปฏิบัติการดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว เมื่อ ก.ค.ศ. มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้ส่วนราชการหน่วยงานการศึกษา อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา คณะอนุกรรมการหรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ปฏิบัติไปตามนั้น"
มาตรา 7ให้ยกเลิกความในมาตรา 21 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 21 ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาประจําเขตพื้นที่การศึกษา เรียกโดยย่อว่า "อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา" โดยออกนามเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ ประกอบด้วย
  1. ประธานอนุกรรมการซึ่งอนุกรรมการเลือกกันเองจํานวนหนึ่งคนโดยเลือกจากอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  2. อนุกรรมการโดยตําแหน่งจํานวนสองคน ได้ แก่ ผู้ แทน ก.ค.ศ.และผู้แทนคุรุสภา ซึ่งคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถหรือประสบการณ์ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการศึกษาด้านกฎหมายหรือด้านการเงินการคลัง
  3. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนสี่คน ซึ่งคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการศึกษา ด้านกฎหมายหรือด้านการเงินการคลัง และด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษา ด้านละหนึ่งคน
  4. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาจํานวนห้าคน ได้แก่ ผู้แทนข้าราชการครู ผู้สอนสายประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอย่างละหนึ่งคนผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาสายประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอย่างละหนึ่งคน และผู้แทนบุ คลากรทางการศึกษาอื่นจํานวนหนึ่งคนให้ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นอนุกรรมการและเลขานุการอนุกรรมการตาม (2) ซึ่งเป็นผู้แทน ก.ค.ศ. และอนุกรรมการตาม (3) ต้องไม่เป็นข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ส่วนอนุกรรมการตาม (2) ซึ่งเป็นผู้แทนคุรุสภาต้องเป็นสมาชิกคุรุสภาและเป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทั้งนี้ อนุกรรมการตาม (2) และ (3) ต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษา หรือผู้มีตําแหน่งบริหารในพรรคการเมือง คุณสมบัติอื่น หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มา วาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของอนุกรรมการตาม (2) (3) และ (4) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กําหนด มาตรา 22 การประชุมของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ให้นําความในมาตรา 16 มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
มาตรา 8

ให้ยกเลิกความใน ข. ของมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข. ตําแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ได้แก่ ตําแหน่งดังต่อไปนี้
  1. รองผู้อํานวยการสถานศึกษา
  2. ผู้อํานวยการสถานสถานศึกษา
  3. รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา
  4. ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  5. ตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ.กําหนด ตําแหน่งผู้บริหารใน (1) และ (2) ให้มีในสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาตามประกาศกระทรวง ตําแหน่งผู้บริหารใน (3) และ (4) ให้มีในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาตําแหน่งผู้บริหารในหน่วยงานการศึกษาที่สอนระดับปริญญา การกําหนดระดับตําแหน่งการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง ให้นํากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ ก.ค.ศ.จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น"
มาตรา 9ให้ยกเลิกความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 40 ให้ตําแหน่งคณาจารย์ดังต่อไปนี้ เป็นตําแหน่งทางวิชาการ
  • (ก) อาจารย์
  • (ข) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  • (ค) รองศาสตราจารย์
  • (ง) ศาสตราจารย์
การกําหนดระดับตําแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งตามวรรคหนึ่งให้นํากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับโดยอนุโลม"
มาตรา 10ให้ยกเลิกความใน (2) และ (3) ของมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"(2) การบรรจุ และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งรองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตําแหน่งรองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชํานาญการพิเศษ ตําแหน่งรองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ ตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยอนุมัติ ก.ค.ศ.

(3) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งรองผู้อํานวยการสถานศึกษา ตําแหน่งผู้อํานวยการสถานศึกษา ตําแหน่งผู้บริหารที่ เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา 38 ข. (5) ตําแหน่งศึกษานิเทศก์ ตําแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตําแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชํานาญการ ตําแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ และตําแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา"

มาตรา 11ให้ยกเลิกความใน (6) ของมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"(6) การบรรจุ และแต่งตั้งตําแหน่งอาจารย์ ตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตําแหน่งรองศาสตราจารย์ และตําแหน่งศาสตราจารย์ ตามมาตรา 38 ก. (3) ถึง (6) ให้นํากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับโดยอนุโลมโดยให้ สภาสถาบันอุดมศึกษาทําหน้าที่แทน ก.ค.ศ.หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง แล้วแต่ กรณี เว้นแต่ ก.ค.ศ.จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น"

มาตรา 12ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 56 ผู้ใดได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามมาตรา 45 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 50 ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตําแหน่งนั้น แต่ถ้าผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตําแหน่งครูผู้ช่วย ให้ผู้นั้นเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นเวลาสองปีก่อนแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งครู ทั้งนี้ การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กําหนด"
มาตรา 13ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองของมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา 59 การย้ายข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาผู้ ใดไปดํารงตําแหน่งในหน่วยงานการศึกษาอื่นภายในส่วนราชการหรือภายในเขตพื้นที่การศึกษาหรือต่างเขตพื้นที่การศึกษาต้องได้รับอนุมัติจาก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง ของผู้ประสงค์ย้ายและผู้รับย้าย แล้วแต่กรณี และให้ สถานศึกษาโดยคณะกรรมการสถานศึกษาเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง ด้วย และเมื่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาหรือ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง พิจารณาอนุมัติแล้ว ให้ผู้มีอํานาจ ตามมาตรา 53 สั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นต่อไป

การย้ายผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาและรองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้สั่งย้ายโดยอนุมัติ ก.ค.ศ."
มาตรา 14ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของมาตรา 104 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(1) การรายงานการดําเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรงของผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลงมา เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดําเนินการทางวินัยแล้ว ให้รายงานไปยังหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํ นั กงานเขตพื้นที่การศึกษาแล้วแต่กรณี และเมื่อหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับรายงานแล้วเห็นว่าการยุติเรื่อง การงดโทษ หรือการสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็ให้มีอํานาจสั่งงดโทษ ลดสถานโทษ เพิ่มสถานโทษ เปลี่ยนแปลงและแก้ไขข้อความในคําสั่งเดิม หรือดําเนินการอย่างใด เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาให้ได้ความจริงและความยุติธรรมได้ ตามควรแก่กรณี และหากเห็นว่ากรณี เป็นการกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้มีอํานาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้ หรือหากเห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของตน ก็ให้แจ้งหรือรายงานไปยั งผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจหน้าที่ เพื่อดําเนินการตามควรแก่ กรณี ต่อไป เมื่อหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้พิจารณาตามอํานาจหน้าที่แล้วให้เสนอหรือรายงาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา เมื่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาได้ พิจารณาแล้ว ให้รายงานไปยังหัวหน้าส่วนราชการพิจารณา แต่ในกรณีที่ หัวหน้าส่วนราชการซึ่งได้ รับรายงานมีความเห็นขัดแย้งกับมติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ให้เสนอ ก.ค.ศ.พิจารณาต่อไป

(2) การรายงานการดําเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงของผู้บังคับบัญชาตั้งแต่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลงมา เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดําเนินการทางวินัยแล้ว ให้รายงานไปยังหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาแล้วแต่กรณี และเมื่อหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามอํานาจหน้าที่แล้ว ให้รายงาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และ ก.ค.ศ. พิจารณาตามลําดับ"

มาตรา 15ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามของมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547

"ในกรณีที่ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดเห็นว่า อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาหรือ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง มีมติไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ.มติของ ก.ค.ศ.ตามวรรคสอง ให้เป็นที่สุด"

มาตรา 16ให้กรรมการ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาซึ่งปฏิบัติหน้าที่ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงปฏิบัติ หน้าที่ต่อไปจนกว่าจะครบวาระ และให้ดําเนินการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งกรรมการเพิ่มเติมให้ครบจํานวนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ นี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้มีวาระอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการดังกล่าว โดยมิให้นับเป็นวาระการดํารงตําแหน่งตามพระราชบัญญัตินี้ให้ ก.ค.ศ.กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาและดําเนินการเพื่อให้ได้ มาซึ่งกรรมการใน ก.ค.ศ.และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาจนครบจํานวนตามองค์ประกอบ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 17ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี